แมงกะพรุน หรือ กะพรุน (อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในชั้นคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน
ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า Medusa ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 ล้านปี[1] มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ[2]
โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม[3] ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย [4]
ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล[5] หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำจืดราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้[6]
มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว[7]
แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ[8]
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
สัตว์น้ำ
วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กุ้ง
กุ้ง (อังกฤษ: Shrimp) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
หอยแครง
หอยแครง (อังกฤษ: Blood Cockle, ชื่อวิทยาศาสตร์: Anadara granosa) เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี
อาหาร : พวกไดอะตอม, แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด
[แก้] ความสำคัญทางเศรษฐกิจหอยแครงเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเนื้อใช้รับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีน นิยมนำไปปรุงด้วยการเผาหรือลวก ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือ บดผสมลงในอาหารไก่ และยังทำเป็นปูนได้อีกต่างหาก [1]
กรมประมงจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงกันอยู่ที่แถบจังหวัดสมุทรสงคราม, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, สตูล และปัตตานี
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี
อาหาร : พวกไดอะตอม, แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด
[แก้] ความสำคัญทางเศรษฐกิจหอยแครงเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเนื้อใช้รับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีน นิยมนำไปปรุงด้วยการเผาหรือลวก ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือ บดผสมลงในอาหารไก่ และยังทำเป็นปูนได้อีกต่างหาก [1]
กรมประมงจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงกันอยู่ที่แถบจังหวัดสมุทรสงคราม, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, สตูล และปัตตานี
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
หอยลาย
หอยลาย เป็นหอยฝากาบ ความยาว 5-6 เซนติเมตร อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนน้ำลึกไม่เกิน 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นผิวลึกประมาณ 20 เซนติเมตร
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ปลาดุก
ปลาดุก (อังกฤษ: walking catfish) ใช้เรียกปลากลุ่มหนึ่งในสกุล Clarias ในวงศ์ Clariidae มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน[1] สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย
เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ปิรันยา
(อังกฤษ: Piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Serrasalmidae ในวงศ์ปลาคาราซิน (Caracidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม
ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด
ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด
ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ปลานิล
ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
[แก้] ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
[แก้] อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง
[แก้] นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
[แก้] การสืบพันธุ์ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ
ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป
หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
[แก้] การพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลแดง เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลธรรมดา ๆ ของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น โดย ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ ได้ปลาที่มีลักษณะเป็นปลาที่มีสีขาวอมแดง จึงขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับการพระราชทานนามว่า "ปลานิลแดง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม"[1]
ปลานิลซูเปอร์เมล หรือ ปลานิลเพศผู้ GMT เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลาเพศผู้ทั้งหมด โดยทำการดัดแปลงโครโมโซม ซึ่งปลานิลซูเปอร์เมลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลทั่วไป[
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
[แก้] ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
[แก้] อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง
[แก้] นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
[แก้] การสืบพันธุ์ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ
ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป
หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
[แก้] การพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลแดง เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลธรรมดา ๆ ของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น โดย ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ ได้ปลาที่มีลักษณะเป็นปลาที่มีสีขาวอมแดง จึงขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับการพระราชทานนามว่า "ปลานิลแดง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม"[1]
ปลานิลซูเปอร์เมล หรือ ปลานิลเพศผู้ GMT เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลาเพศผู้ทั้งหมด โดยทำการดัดแปลงโครโมโซม ซึ่งปลานิลซูเปอร์เมลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลทั่วไป[
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)