วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน (อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก

แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในชั้นคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า Medusa ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 ล้านปี[1] มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ[2]

โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม[3] ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย [4]

ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล[5] หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำจืดราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้[6]

มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว[7]

แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ[8]

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

กุ้ง

กุ้ง (อังกฤษ: Shrimp) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

หอยแครง

หอยแครง (อังกฤษ: Blood Cockle, ชื่อวิทยาศาสตร์: Anadara granosa) เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี
อาหาร : พวกไดอะตอม, แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด
[แก้] ความสำคัญทางเศรษฐกิจหอยแครงเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเนื้อใช้รับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีน นิยมนำไปปรุงด้วยการเผาหรือลวก ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือ บดผสมลงในอาหารไก่ และยังทำเป็นปูนได้อีกต่างหาก [1]

กรมประมงจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงกันอยู่ที่แถบจังหวัดสมุทรสงคราม, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, สตูล และปัตตานี
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

หอยลาย

หอยลาย เป็นหอยฝากาบ ความยาว 5-6 เซนติเมตร อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนน้ำลึกไม่เกิน 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นผิวลึกประมาณ 20 เซนติเมตร

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ปลาดุก

ปลาดุก (อังกฤษ: walking catfish) ใช้เรียกปลากลุ่มหนึ่งในสกุล Clarias ในวงศ์ Clariidae มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน[1] สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย

เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ปิรันยา

(อังกฤษ: Piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Serrasalmidae ในวงศ์ปลาคาราซิน (Caracidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม

ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้

แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด

ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ปลานิล

ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

[แก้] ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

[แก้] อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง

[แก้] นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

[แก้] การสืบพันธุ์ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ

ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง

[แก้] การพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลแดง เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลธรรมดา ๆ ของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น โดย ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ ได้ปลาที่มีลักษณะเป็นปลาที่มีสีขาวอมแดง จึงขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับการพระราชทานนามว่า "ปลานิลแดง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม"[1]
ปลานิลซูเปอร์เมล หรือ ปลานิลเพศผู้ GMT เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลาเพศผู้ทั้งหมด โดยทำการดัดแปลงโครโมโซม ซึ่งปลานิลซูเปอร์เมลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลทั่วไป[
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ปลาดาวทะเล

ดาวทะเลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ดาวทะเล
Temporal range: ออร์โดวิเชียน-ปัจจุบัน

ดาวทะเลปุ่มแดง (Protoreaster linckii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: Animalia
Phylum: Echinodermata
Subphylum: Asterozoa
Class: Asteroidea
De Blainville, 1830
อันดับ
Brisingida (100 ชนิด)

Forcipulatida (300 ชนิด)

Paxillosida (255 ชนิด)

Notomyotida (75 ชนิด)

Spinulosida (120 ชนิด)

Valvatida (695 ชนิด)

Velatida (200 ชนิด)


ดาวทะเล หรือที่เรียกกันติดปากว่า ปลาดาว (อังกฤษ: Starfish, Seastar) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea[1] ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร

ดาวทะเล พบอยู่ในทะเลทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในเขตขั้วโลกด้วยอย่าง มหาสมุทรอาร์กติก และแอนตาร์กติกา

ดาวทะเล ถึงปัจจุบันนี้พบอยู่ด้วยประมาณ 1,800 ชนิด กระจายอยู่ในอันดับต่าง ๆ 7 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งดาวทะเลขนาดเล็กอาจมีความกว้างเพียง 1 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1 เมตร และในบางชนิดอาจมีแขนได้มากกว่า 5 แขน

สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย การปฏิสนธิเกิดภายนอกตัว ระยะแรกตัวอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอนสัตว์ จากนั้นจะเริ่มพัฒนาตัวแล้วจมตัวลงเพื่อหาที่ยึดเกาะแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย ส่วนการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ในบางชนิดเมื่อแขนถูกตัดขาดลง จะพัฒนาตรงส่วนนั้นกลายเป็นดาวทะเลตัวใหม่เกิดขึ้น และตัวที่ขาดก็จะงอกชิ้นใหม่ขึ้นมาได้จนสมบูรณ์ แต่กระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลาเป็นปี [2]

การเคลื่อนที่ของดาวทะเล เนื่องจากดาวทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงแข็งที่ผิวนอก ไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ จึงมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ จากท่อวงแหวนจะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขน เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล ทางด้านข้างของเรเดียลคาแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต การยืดและหดของทิวบ์ฟิตจะเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง และมีความสัมพันธ์กันทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปได้

ดาวทะเลมีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ในแง่ ของการใช้ซากเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม อีกทั้งในบางวัฒนธรรมเช่น จีน มีการใช้ดาวทะเลเพื่อปรุงเป็นยา รวมทั้งใช้ปิ้งย่างเป็นอาหาร[3] อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลินอีกด้วย

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/

ปลาวาฬ

กิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
วาฬ
สถานะการอนุรักษ์
ใกล้สูญพันธุ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: Animalia

วาฬ ชาวไทยนิยมเรียกว่า ปลาวาฬ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ออกลูกเป็นตัว มีขนาดตัวใหญ่มหึมา และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

บรรพบุรุษของวาฬ เชื่อว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนบกในสมัยพาลิโอซีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในสมัยอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น

[แก้] ประเภทปัจจุบันมีการจัดให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 80 ชนิดจัดอยู่ในกลุ่มวาฬ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

มิสติเซเตส หรือวาฬบาลีน
วาฬกลุ่มนี้มีลักษณะคือใช้แผ่นกระดูกเป็นซี่คล้ายหวีกรองอาหารจากน้ำทะเล โดยส่วนมากวาฬที่อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นวาฬขนาดใหญ่เช่น วาฬสีน้ำเงิน
โอดอนโตเซเตส หรือวาฬมีฟัน
โดยมากจะเป็นวาฬขนาดเล็ก รวมทั้งโลมาทุกชนิด(โลมาขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่าวาฬเพชฌฆาต)
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ม้าน้ำ

(อังกฤษ: Seahorse) เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes

สำหรับม้าน้ำนั้นจะมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า "hippo" หรือ "hippos" ที่แปลว่า "ม้า" และ "campus" ที่แปลว่า "สัตว์ประหลาดทะเล"



ลักษณะม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด ส่วนหางของแทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำไปมาอย่างปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำหรือปะการังในน้ำ มีครีบอกและมีครีบบางใสตรงเอวอีกครีบหนึ่งช่วยโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20-30 ครั้งต่อวินาที ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้า ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นไปในลักษณะขึ้น-ลง มากกว่าไปมาข้างหน้า-ข้างหลังเหมือนปลาชนิดอื่น ปากยื่นยาวคล้ายท่อไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิด ใช้สำหรับดูดกินอาหาร จำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ

ม้าน้ำ เหมือนกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้อง โดยมีอวัยวะตรงบริเว๊ณหน้าท้องคล้ายถุง ใช้สำหรับเก็บไข่และฟักเป็นตัว เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ม้าน้ำตัวผู้จะปรับเปลี่ยนสีของลำตัวเพื่อดึงดูดม้าน้ำตัวเมีย จากนั้นตัวผู้จะใช้หางโอบกอดตัวเมียพร้อมกับแอ่นท้องประกบกับท้องเข้าหากัน ตัวเมียจะออกไข่ใส่ลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้ และม้าน้ำตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจำนวนไข่ประมาณ 100-200 ฟอง มากที่สุดคือ 1,500 ฟอง ตามแต่ละชนิด

เมื่อคลอด พ่อม้าน้ำก็จะบีบกล้ามเนื้อส่วนท้องและพ่นลูกม้าน้ำทั้งหมด ให้ออกจากกระเป๋าหน้าท้อง โดยที่ม้าน้ำมีพฤติกรรมแบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต กล่าวคือ จะจับคู่อยู่กันเพียงตัวเดียว หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอันเป็นไป ก็จะไม่หาคู่ใหม่[1]

[แก้] ชนิดม้าน้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร ตามแต่ละชนิด โดยขนาดเล็กเช่น ม้าน้ำจำพวกม้าน้ำแคระ จะมีความยาวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น มีการแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก ปัจจุบันพบทั้งหมด 47 ชนิด[2] ส่วนม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 6 ชนิด ได้แก่

ม้าน้ำดำ (Hippocampus kuda) หรือ ม้าน้ำธรรมดา จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีลำตัวสีดำสนิท ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม, สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย
ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึกและสภาพน้ำค่อนข้างใส มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำดำ
ม้าน้ำสามจุด (H. trimaculatus) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว มักปรากฏจุดดำประมาณ 3 จุด บริเวณส่วนบนของลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ
ม้าน้ำแคระ (H. mohnikei) มีขนาดเล็กที่สุด พบเห็นไม่บ่อยนัก ลำตัวตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่ายทะเล บริเวณที่เป็นพื้นทราย
ม้าน้ำยักษ์ (H. kelloggi) หรือ ม้าน้ำใหญ่ เป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวได้ถึง 28 เซนติเมตร
ม้าน้ำหนามขอ (H. hystrix) มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนิดอื่น คือ มีปากขนาดยาวกว่า มีหนามที่เหนือตาและมีส่วนหน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัด มีหนามบนหัว หนามตามลำตัวและหางจะแหลม บริเวณปลายหนามจะมีสีดำเข้ม เมื่อเอามือไปสัมผัสจะรู้สึกว่าเกี่ยวติดมือ หนามที่หางมีความยาวเท่า ๆ กัน
[แก้] ความสำคัญต่อมนุษย์ม้าน้ำ เป็นปลาที่นิยมทำเป็นยาจีนตามตำราการแพทย์แบบจีน ด้วยเชื่อว่าบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยจะทำไปตากแห้งและขายเป็นชั่งน้ำหนักขาย ทำให้ม้าน้ำทั่วโลกในปีหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อการนี้ และยังถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับอีก จนกลายทำให้เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบางชนิด

นอกจากนี้แล้ว ความที่เป็นปลาที่มีรูปร่างแปลก มีขนาดเล็กน่ารัก ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้ที่นิยมการเลี้ยงปลาตู้ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน มีม้าน้ำบางชนิดสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

ปลาหางไก่

ปลาหางไก่



ชื่อวิทยาศาสตร์ Coilia lindmanni Bleeker, 1858

ชื่อสามัญ Lindman's grenadier anchovy

ลักษณะทั่วไป

กลุ่มปลาที่มีครีบคู่ แผ่แบนออกได้ลักษณะคล้ายพัด ลําตัวแบนข้าง ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัว จึงแลดู ใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ความยาวได้ถึง 20 ซม. อาศัยได้ทั้งน้ำในน้ำจืดและน้ำกร่อย นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินถุ้ง ลูกปลา และแมลงน้ำ ขนาดใหญ่ที่พบมากที่สุดมีความยาว 20 เซนติเมตร ปลาหางไก่เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีแนวโน้ม สูญพันธุ์ การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กลอง จนถึงลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึงบริเวณจังหวัดชัยนาท ลุ่มน้ำปราจีนบุรี นอกจากนี้ยังพบในบอร์เนียว และสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย

แหล่งที่มาhttp://www.fisheries.go.th/sf-prachinburi/web2/

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง (อังกฤษ: Guppy) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น

จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปลามังกร

ปลามังกร



ปลาอโรวาน่า (Arowana) AROWANA หรือ "Bonytongue fish" มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปลาตะพัด หรือ ปลามังกร มีลักษณะเด่นที่รูปร่างคล้ายมังกรและมีความเชื่อกันว่าเป็นปลานำโชค ปลาชนิดนี้จัดอยู่ในครอบครัวออสทีโอกลอสซิตี้ (Osteoglossidae) ประกอบด้วยปลา 4 สกุล (Genus) และ 7 ชนิด (Species) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ลักษณะรูปร่าง

มีลักษณะลำตัวยาวแบนข้าง ส่วนท้องแบนมาก เป็นสันคม ความกว้างลำตัวบริเวณส่วนต้นและส่วนท้ายของลำตัว (บริเวณโคนครีบก้น)เกือบเท่ากัน มีความยาวลำตัวเป็น 3.5-4.8 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.5-4 เท่าของความยาวส่วนหัว ปลาที่มีอายุน้อยบริเวณสันหลังจากจงอยปากไปจนถึงบริเวณโคนหางเกือบเป็นเส้นตรง แต่แม่ปลาอายุมากขึ้นจะโค้งเล็กน้อย เกล็ดบริเวณลำตัวมีขนาดใหญ่ หนา และแข็งแรง

จำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว (lateral line) 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ครีบหลังสั้นกว่าครีบก้น ครีบก้นมีความยาวเท่าๆกับความยาวของส่วนหัว ครีบหลังมีจำนวนครีบ 20 ก้าน ครีบก้นมี 26-27 ก้าน ครีบอกค่อนข้างยาว ยาวจนถึงโคนครีบท้องวัดความยาวได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว และมีจำนวน 7 ก้าน

ครีบท้องสั้นมีเพียง 5 ก้าน ครีบหางกลมมนไม่ติดกับครีบหลังและครีบก้น ปลาชนิดนี้ปากกว้างมาก เฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยาวเลยไปทางด้านล่างของส่วนหัว บนขากรรไกรและเพดานปากมีฟันแหลมคม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ที่ปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่สั้นๆ 1 คู่ ตามีขนาดใหญ่มากกว่าความยาวของจงอยปากเล็กน้อย

ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ชอบอาศัยแหล่งน้ำบริเวณภูเขาที่มีน้ำไหลเอื่อยๆ ที่พื้นท้องน้ำเป็นหินปนทรายน้ำค่อนข้างขุ่นและเป็นกรดเล็กน้อย(pH 6-6.5) เป็นปลาที่มีไข่จำนวนน้อย ปลาขนาด 3-6 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 40-100 ฟองเท่านั้น เมื่อวางไข่แล้วจะฟักไข่ในปากขนาดไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.72 เซนติเมตร สามารถแบ่งตามทวีปที่พบได้ 4 ทวีป ดังนี้

1. อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย จัดเป็นอะโรวาน่าที่นิยมสูงสุด ในหมู่นักเลี้ยงปลา ในกลุ่มนี้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Scleropages Formosus รูปร่างของปลา จะค่อนข้างออกไปทาง ป้อมสั้น หากเทียบกับสายพันธุ์ ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยัง จัดเป็นกลุ่มที่มีราคาแพงที่สุด อันเนื่องมาจาก สีสรร อันสวย เกินบรรยาย สีทองดั่งทองคำเปลว หรือ สีแดงแบบเลือดนก

1. อะโรวาน่าทองมาเลย์ ( CROSS BACK )

อะโรวาน่าทองจากมาเลเซีย มีชื่อเรียกหลายแบบ ตามแหล่งที่พบ เช่น ปาหังโกลด์ มาลายัน โบนีทัง (Malayan Bony Tongue), บูกิทมีราสบลู, ไทปิงโกลด์เดน หรืออะโรวาน่าทองมาเลย์ สาเหตุของการมีชื่อเรียกมากมาย อย่างนี้ ก็เพราะว่าอะโรวาน่าชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไป ในมาเลเซีย ปลาอะโราวาน่าทองมาเลเซีย จัดเป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาประอะโรวาน่าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากปลาชนิดนี้ จะให้ลูกน้อย และในธรรมชาติ หาได้ยากเต็มทีแล้ว ทุกวันนี้มีเพาะเลี้ยงกันที่ ในมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น อะโรวาน่าทองมาเลเซีย สามารถแบ่งจริงๆ ได้เป็น 3 พวก ใหญ่ๆ คือ

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีน้ำเงิน หรือม่วง ( Blue or Purple Based )

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีทอง (Gold Based)

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีเขียว (Green Based)

สำหรับ ปลาประเภท 1 และ 2 บางครั้งจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจาก สีน้ำเงิน หรือ ม่วงที่เราเห็น ขึ้นอยู่กับมุมสะท้อน ที่เราดูปลา เลยทำให้บางครั้งเราเห็น ออกสีม่วง ทั้งที่ความจริงแล้ว ปลามีฐานเกล็ดสีน้ำเงิน สำหรับแบบที่ 3 หรือ แบบที่มีฐานเกล็ดสีทอง แบบนี้ จัดว่าเป็นสุดยอดของปลาอะโรวาน่า ทองมาเลเซีย เนื่องจาก เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาจะมีสรรที่เหลืองอร่าม ดั่งทองคำเคลื่อนที่ ปลาชนิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นอะโรวาน่าทองมาเลย์ประเภท แรก ที่สีทองจะอ้อมข้ามหลังได้เร็ว กว่าสายพันธุ์อื่นๆ

การผสมข้ามสายพันธุ์ ก็ได้ทำให้เกิด สายพันธุ์ใหม่ๆ ของอะโรวาน่าทองมาเลเซีย ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Platinum White Golden และ Royal Golden Blue Arowana เป็นต้น

2. อะโรวาน่าแดง ( Red Arowana )

ปลาอะโราวาน่าแดง ที่มีขายกันในบ้านเรา มีที่มาจากหลายแหล่งน้ำ ในทางตะวันตกของกัลลิมันตัน ในประเทศ อินโดนีเซีย บริเวณแนวสันหลังจะมีสีน้ำตาล เกล็ดบริเวณลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัว มีสีเขียวเหลือบสีแดง หรือแดงอมส้ม บริเวณส่วนท้องและแผ่นปิดเหงือกสีแดงหรือแดงอมส้มครีบอกและครีบท้องสีเขียว แต่บริเวณส่วนปลายครีบจะมีสีแดงหรือแดงอมส้ม ริมฝีปากก็จะมีสีแดงหรือแดงอมส้มเช่นกัน อะโรวาน่า แดง สามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ

- แดงเลือดนก (Blood Red)

- แดงพริก (Chilli Red )

- แดงส้ม (Orange Red)

- แดงอมทอง (Golden Red)

ในปัจจุบัน อะโรวาน่าแดง ทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ถูกเรียก รวมๆ ทั้งหมด ว่า Super Red เนื่องจาก ปลาอะโรวาน่าแดง ประเภท Orange Red และ Golden Red เวลาโต จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าสีจะไม่แดงเข้ม เท่า 2 สายพันธุ์แรก จากรูปข้างบน จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า คุณภาพสีแดงของ Orange Red และ Golden Red จะออกไปทางส้มอม แดง หรือ ทองอม แดง

ชิลี่เรด และ บัดเรด ทั้งสองตัวนี้ มีแหล่งกำเนิดจาก แม่น้ำ Kapaus และทะเลสาบ Sentarum ซึ่งทะเลสาบ Sentarum นี้จะประกอบไป ด้วยทะเลสาบย่อยๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด ทางตอนปลายจะมีทางออกสู่ แม่น้ำ Kapaus ธรรมชาติของแม่น้ำนี้ จะถูกปกคลุม ด้วยต้น Peat ซึ่งทำให้แลดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้มาก สภาพ น้ำในแม่น้ำ Kapuas จะมีสีดำ ของแร่ธาตุ และอาหาร ซึ่งมีผลต่อสีของปลา ทำให้ อะโรวาน่าแดง มีสายพันธุ์ย่อยๆ ลงไปอีก โดยสามารถแบ่งแยกได้ จากความเข้มของสี ที่แตกต่างกัน และ รูปทรงของปลา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวนี้ พ่อค้าปลา ได้ตั้งชื่อเรียกปลาอะโรวาน่า ชุดแรกๆ ที่มีการส่งออก ว่า Chilli Red และ Blood Red โดยที่จะใช้ ความเข้มของสีแดงและ รูปทรงของปลา ในการจำแนก ปลาทั้งสองชนิดออกจากกัน ในปลาที่โตเต็มที่ ชิลี่เรด จะสีแดงคล้ายพริกในขณะที่ บัดเรด จะแดงออกสีเลือด ชีลี่เรด จะมีตาที่ใหญ่สีแดง และหางที่มีรูปร่างคล้ายรูปร่างของเพชร ในขณะที่ บัดเรด จะมีตาที่เล็กกว่า ขาวกว่าและรูปแบบหาง จะกลม เปิดกว้างมากกว่า ตาที่ใหญ่ของชีลี่เรด บางครั้งขอบ ตาบนจะแตะระดับส่วนบนของหัวพอดี

3. อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย ( Red Tail Golden Arowana )

จำแนกอยู่ภายใต้กลุ่มอะโรวาน่าทอง เช่น เดียวกับทองมาเลย์ ปลาชนิดนี้ พบใน Pekan Baru ในประเทศอินโดนีเซีย เวลามันโต เต็มที่ มันจะไม่ทองแบบเหลืองอร่ามทั้งตัว ทองอินโด สามารถแบ่งประเภท ตาม สีของเกล็ดได้ 4 ประเภท คือ พวกที่มีฐานเกล็ด สีน้ำเงิน, เขียว และ ทอง อะโรวาน่าทองที่มีขนาดเล็ก จะมีสีที่ด้านกว่าของมาเลย์อย่างเห็นได้ชัด

4. อะโรวาน่าเขียว Green Arowana

แหล่งกำเนิดของปลาตัวนี้ พบกระจายอยู่ใน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ใน แถบจังหวัด จันทบุรี ตราด บริเวณด้านหลังจะมีสีเขียวอมน้ำตาล สีเทา หรือเทาอมเขียว เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเงินหรือเงินเหลือบเขียว ครีบทุกครีบสีน้ำตาลอมเขียว

2. อะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้

สำหรับ อะโรวาน่าที่มาจากทวีปอเมริกา มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ อะโรวาน่าเงิน อะโรวาน่าดำ และ อะราไพม่า ชาวพื้นเมือง จะเรียกปลาอะโรวาน่า ว่า "ลิงน้ำ (Water Monkey)" เนื่องจากลักษณะการ กระโดด ขึ้นกินแมลง ที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ เหนือ ผิวน้ำ

อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)

มีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอนในจิอานา(Guiana) อเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่ยาวถึง 1 เมตร ลำตัวยาวและแบนข้างมาก เรียงไปทางส่วนโคนหาง ส่วนท้องแบนเป็นสัน ลำตัวมีสีเงินอมเทา หรือเหลืองอมเขียว บางตัวเมื่อโตขึ้นจะมีสีขาวเหมือนหิมะ จึงเรียกว่า snow arowana บริเวณลำคอจะมีสีส้มหรือส้มอมแดง เกล็ดตามตัวมีขนาดใหญ่ เกล็ดตามเส้นข้างตัวมี 31-35 เกล็ด บนเกล็ดมีจุดสีแดงและสะท้อนแวววาวเมื่อมีแสงสว่าง ครีบมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน ปากกว้างมากเมื่อยื่นขึ้นไปด้านบน ริมฝีปากล่างยื่นออกไปกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ปลายริมฝีปากล่างมีหนวดขนาดใหญ่ 2 เส้น หนวดมีสีน้ำเงินหรือฟ้าน้ำทะเล ครีบก้นยาวมากเริ่มจากลำตัวยาวไปจนถึงโคนหางมีก้านครีบ 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงกันข้ามกับครีบก้นแต่สั้นกว่าครีบก้นเล็กน้อย จำนวนก้านครีบ 42-46 ก้าน

อะโรวาน่าดำ (Black Arowana)

พบแพร่กระจายบริเวณแม่น้ำริโอนิโกร (Rio Negro) ในบราซิล ลักษณะลำตัวโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน กับอะโรวาน่าเงินมากในขณะที่ปลาอายุยังน้อยยังมีเส้นขนาดเล็กคาดอยู่ อะโรวาน่าดำจะมีสีคล้ำกว่าอะโรวาน่าเงินมาก และจะมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวลำตัว แต่เมื่อปลามีอายุมากขึ้น สีบริเวณลำตัวจะซีดจางลงจนมีสีใกล้เคียงกับอะโรวาน่าเงิน จุดที่พอจะสังเกตุความแตกต่างได้เมื่อปลาอายุมากขึ้นคือ ครีบหลังและครีบก้น อะโรวาน่าดำจะมีขอบครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำในขณะที่อะโรวาน่าเงินไม่มี

อะราไพม่า หรือ ปลาช่อนยักษ์ ( Aarapaima )

ในธรรมชาติปลาอะราไพม่าจะกิน ปลาตระกูลแคชฟิช บางชนิดเป็นอาหาร ในบางครั้งก็อาจจะกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อจับนก ที่บินไปบินมา ปลาพิรารูคู หรือ อะราไพม่า ที่เรารู้จักดี เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก สามารถเติบโต ได้ถึง 10 ฟุต น้ำหนักถึง 400 ปอนด์ จากหลักฐานเท่าที่มีการยืนยัน เมื่อ ร้อยปีที่แล้วมีคนเคยจับได้ขนาดใหญ่สุดถึง 15 ฟุต 4.6 เมตร ปลาช่อนยักษ์จะวางไข่ราวๆ ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ไข่เป็นพันๆ ฟองจะถูกวางในแอ่งดินใต้น้ำ ที่พ่อแม่ปลา ช่วยกันเตรียมรังเอาไว้ต้อนรับลูกน้อย

ปลาชนิดนี้ มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tongue ซึ่งมีฟันชุดที่สองเรียงราย อยู่ ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ทำให้ปลาช่อนยักษ์ สามารถกินปลาในตระกูล Catfish ซึ่งเป็นปลาที่มีเกราะหุ้ม อันแข็งของปลาในกลุ่มนี้

3. อะโรวาน่าจากทวีปแอฟริกา (African Arowana)

อะโรวาน่าที่พบในอัฟริกามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น อาศัยแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจากตอนบนของแม่น้ำไนล์ บริเวณส่วนกว้างอัฟริกาไปจนถึงฝั่งตะวันตก ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้ มีความยาวลำตัวถึง 4 ฟุต ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง(ลึก) ส่วนหัวค่อนข้างหนาและสั้น ด้านบนโค้งเล็กน้อย ลำตัวด้านหลังและด้นข้างมีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ ส่วนบริเวณท้องจะมีสีซีดกว่าด้านข้าง อาจจะมีสีครีมหรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆจะมีสีคล้ายกับสีของลำตัว จงอยปากสั้นกลม ริมฝีปากหนา ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้องอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางมีขนาดเล็ดรูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้าน บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 32-38 เกล็ด

4. อะโรวาน่าจากทวีปออสเตรเลีย (Saratogos)

ที่พบในทวีปนี้ มีด้วยกัน 2 ชนิด พบที่ออสเตรเลียเหนือ มีชื่อว่า Nothern Saratogas และที่พบที่ ออสเตรเลียตะวันออก ชื่อว่า Spotted Saratogas

อะโรวาน่าออสเตรเลียเหนือ (Nothern Saratoga)

พบในทางตอนเหนือ ของประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะนิวกีนี ในประเทศอินโดนีเชีย ปลาชนิดนี้ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีรูปร่าง ที่คล้าย อะโรวาน่าจากทวีปเอเชียมากที่สุด

มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 90 เซนติเมตร ลักษณะ ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของอะโรวาน่าออสเตรเลีย จากอะโรวาน่าในแถบทวีปเอเชีย คือ จำนวนแถว ของเกล็ด จะมีมากแถวกว่า โดยที่อะโรวาน่าออสเตรเลีย จะมีเกล็ด 7 แถว ในขณะที่ ของอะโรวาน่าจากเอเชีย มี เพียง 5 แถว ส่งผลให้ขนาดของเกล็ดปลาจะมีขนาดเล็กลง ขอบเกล็ดของปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ จะออกสีส้ม เหลือบเขียว เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์

อะโรวาน่าออสเตรเลียตะวันออก (Spotted Saratoga)

มีถิ่นกำเนิดในรัฐ ควีนส์แลนด์ ในลุ่มแม่น้ำ Dawson อะโรวาน่า ชนิดนี้ หรือ ที่เรียกกัน สั้นๆ ว่า อะโรวาน่าออสเตรเลียจุด มีขนาดความยาวสูงถึง 90 ซม. ลักษณะลำตัวยาวเรียว บริเวณสันหลังตรง ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว หรือเหลืองอมเขียว บริเวณส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 35 เกล็ด มีจุดสีส้มอมแดงและสะท้อนแสงบนเกล็ดแต่ละเกล็ดจำนวน 1-2 จุด ครีบหลังและครีบก้นสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทั้งสองเข้มจนเกือบดำ ครีบก้นยาวกว่าครีบหลังเล็กน้อยมีก้านครีบ 31 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบ
แหล่งที่มาhttp://pet.kapook.com/view167.html

หอยทะเลพริกไทยทอง

หอยพริกไทยทอง
หอยทะเลตัวเล็กขนาดเท่าเม็ดพริกไทยนี้เป็นชนิดที่น่ารักมาก แม้จะต้องใช้แว่นขยายดูลวดลายสีสันบนเปลือก ซึ่งธรรมชาติ ออกแบบมาไม่ให้ซำกันแม้แต่ตัวเดียว พบในป่าไม้ชายเลน ป่าโกงกาง กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร
แหล่งข้อมู,http://www.skn.ac.th/

สัตว์น้ำ........ตอนปลาโลมา

โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์รูปร่างของโลมาโลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ
ความฉลาดของโลมาว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

สัตว์น้ำ......ตอนปลายี่สก

ปลายี่สก (อังกฤษ: Seven-striped barb, Jullien's golden carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม

พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย

ปลายี่สก มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "เอิน" หรือ "เอินตาแดง" ในภาคอีสาน "ยี่สกทอง" หรือ "อีสก" หรือ "กะสก" ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า "ปลาเสือ" เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ ปลายี่สกกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย

นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่ทำเป็นป้ายบอกชื่อถนนในตัวอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเคยเป็นถิ่นที่ได้ชื่อว่ามีปลายี่สกชุกชุมในอดีต
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัตว์น้ำ......ตอนปลาทอง

ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17[1] และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป
สายพันธุ์ปลาทอง
มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ออรันดา, เกล็ดแก้ว, รักเล่, แพนด้า, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น
แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/

สัตว์น้ำ......ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (อังกฤษ: Shark; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม[1]
ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึง ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[2]
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามบาสกิ้ง (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ Clasper แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้
ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด[3] และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย
สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 41 ชนิด

แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/